« Back โตชิบาเตรียมผลิตกังหันน้ำ สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เกอรินจี เมรางิน ในอินโดนีเซีย

การผลิตอุปกรณ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง สำหรับโรงไฟฟ้าประเภท หัวน้ำสูง และให้อัตราความเร็วในการหมุนสูง

คาวาซากิ, ประเทศญี่ปุ่น – บริษัท โตชิบา เอ็นเนอร์ยี่ ซิสเต็มส์ แอนด์ โซลูชัน คอร์ปอเรชั่น (Toshiba ESS) ประกาศในวันนี้ว่า บริษัท โตชิบา ไฮโดร เพาเวอร์ (หางโจว) จำกัด (THPC) บริษัทลูกในจีนของ Toshiba ESS และ บริษัท โตชิบา เอเชีย แปซิฟิค อินโดนีเซีย จำกัด (TAPI) บริษัทลูกในอินโดนีเซียของ Toshiba ESS ได้รับเลือกจากบริษัทโรงไฟฟ้าพลังน้ำ สังกัด บูกากา ซึ่งประกอบธุรกิจด้านพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานในอินโดนีเซีย ให้จัดหากังหันน้ำ ขนาด 105 เมกะวัตต์ จำนวน 4 ยูนิต ให้กับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เกอรินจี เมรางิน (Kerinci Hydropower Plant) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย โดยคาดว่าจะส่งมอบอุปกรณ์ได้ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ด้วยความสูงของโรงไฟฟ้าเกอรินจี ที่อยู่สูงกว่าระดับพื้นดินถึง 400 เมตรนั้น มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งในส่วนของหัวน้ำสูง และอัตราความเร็วในการหมุนสูง ในการผลิตกังหันน้ำ Toshiba ESS และ THPC  จึงได้รับเลือกให้เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ เนื่องจากมีการประเมินแล้วถึงความสามารถของบริษัทในการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูง ความน่าเชื่อถือสูงของอุปกรณ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นวงกว้าง และประสบการณ์ในการผลิตอุปกรณ์สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำให้กับลูกค้าทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้น TAPI ยังดำเนินกิจกรรมการขายได้เป็นอย่างดี ได้รับความเชื่อถือจากลูกค้าในฐานะ​ “หุ้นส่วนที่สำคัญ” แม้ว่าโอกาสการติดต่อธุรกิจข้ามชาติในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 จะค่อนข้างจำกัด และเป็นไปอย่างยากลำบากก็ตาม

นายชินยะ ฟูจิสึกะ ผู้อำนวยการ และรองประธานอาวุโสฝ่ายระบบไฟฟ้า ของ Toshiba ESS เปิดเผยว่า “ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ผลิตกังหันน้ำ และจัดหาอุปกรณ์ให้กับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเกอรินจี ในอินโดนีเซีย โดยหลังจากนี้ Toshiba ESS จะเดินหน้าสนับสนุนในการจัดหาอุปกรณ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั่วโลกต่อไป อีกทั้งยังพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่น และศูนย์กลางที่น่าเชื่อถือ ไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศให้เป็นศูนย์ หรือยุคสมัยแห่ง “คาร์บอนสมดุล” ในการผลิตไฟฟ้า เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ”

ก่อนหน้านี้ THPC ได้รับมอบหมายให้จัดหาอุปกรณ์สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำของกลุ่มบูกากา ให้กับโรงไฟฟ้า 4 แห่งในอินโดนีเซีย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 รวมถึงโรงไฟฟ้าพลังน้ำ มาลีอา 1 ซึ่งได้เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ THPC ยังได้รับความไว้วางใจให้จัดหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 กระทั่งในที่สุด THPC ได้รับมอบหมายให้จัดหาอุปกรณ์สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเกอรินจีชนิดเต็มรูปแบบและระบบ

ครั้งนี้ THPC จะดำเนินการตั้งแต่การออกแบบ และผลิตกังหันน้ำ ที่ฝ่ายปฏิบัติการในโรงงานของ THPC ในประเทศจีน และ TAPI จะดูแลในส่วนของการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ไปจนถึงการติดตั้งอุปกรณ์ในพื้นที่ รวมถึงการให้คำแนะนำทางเทคนิคแบบออนไลน์ เพื่อให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อได้ตามแผน ไม่ให้มีความล่าช้า แม้จะมีการระบาดของโรคโควิด-19 ก็ตาม

มีการประเมินล่วงหน้าว่า สัดส่วนของพลังงานหมุนเวียน ต่อพลังงานที่ผลิตได้ทั้งหมดของอินโดนีเซีย จะเพิ่มขึ้นไปถึง 23% ภายในปี พ.ศ. 2568* โดยในจำนวนนี้ การผลิตไฟฟ้า จากพลังงานน้ำ ถือครองอัตราส่วนสูงสุดในบรรดาพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด และคาดว่าจะมีสัดส่วนสูงขึ้นไปถึงราว 40% ด้วยเหตุนี้ จึงมีการคาดหมายว่า ยุคสมัย และตลาดแห่งการใช้พลังงานน้ำ จะเติบโตอย่างรวดเร็ว จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น และทั้ง Toshiba ESS และ THPC ต่างก็คาดหมายกันว่า ทั้ง 2 องค์กรจะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสนับสนุนความรู้ – ความเชี่ยวชาญ ให้กับตลาดการผลิตพลังงานจากน้ำ

สำหรับกลุ่มโตชิบา ผู้ผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ ขนาด 60 กิโลวัตต์ ซึ่งถือเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องแรกสำหรับโรงไฟฟ้า คีอาเกะ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำเชิงพาณิชย์แห่งแรกของญี่ปุ่น​ ซึ่งเริ่มเดินเครื่องการผลิตไฟฟ้าจ่ายให้กับประชาชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2437 นับจากวันนั้น กลุ่มโตชิบาได้ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำมากกว่า 2,700 ยูนิต และสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 66 กิกะวัตต์ ในกว่า 40 ประเทศ ไม่ว่าจะในทวีปเอเชีย และในพื้นที่อื่นๆ ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ถือเป็นแหล่งพลังงานหลักของพลังงานสะอาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มโตชิบา ได้ส่งมอบอุปกรณ์ไฟฟ้าพลังน้ำสำหรับประเทศต่างๆ อาทิ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศลาว ขณะเดียวกัน กลุ่มโตชิบา ก็คาดหวังที่จะบรรลุวัตถุประสงค์แห่งการเป็นสังคมคาร์บอนสมดุล และตั้งใจที่จะนำผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงจัดส่งไปยังจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา และภูมิภาคอื่นๆทั่วโลก

*ที่มา: แผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าแห่งอินโดนีเซีย (RUPTL 2019)

แผนงานโครงการ

ชื่อโรงไฟฟ้า : โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เกอรินจี

ผู้ให้บริการ: บริษัท เกอรินจี เมรางิน ไฮโดร จำกัด (KMH)

ที่ตั้ง : ใจกลางเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย

ขอบเขตงาน: กังหันฟรานซิส (Francis Turbine) ขนาด 105 เมกะวัตต์ 4 ยูนิต พร้อมจัดส่งและติดตั้ง

แผนการติดตั้ง: ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป (ตามแผนงาน)

แผนการให้บริการ: ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2568 เป็นต้นไป (ตามแผนงาน สำหรับ กังหันน้ำ 4 ยูนิต)

 

(ภาพ) การเซ็นสัญญา

(ซ้าย) นายคาโอรุ ทาคายานากิ

รองประธาน และผู้บริหารด้านการตลาด บริษัท โตชิบา ไฮโดร เพาเวอร์ (หางโจว) จำกัด

 

(ภาพ) กังหันฟรานซิส คล้ายกับที่ใช้ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เกอรินจี

 

 

2024